top of page

The Treasury Museum, Song Khla

พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดสงขลา

          พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ที่บริเวณศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ภายใต้การกำกับดูของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์  เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงนิทรรศการเหรียญกษาปณ์และเงินตราไทย พร้อมกับบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจและการใช้เงินตราท้องถิ่นของไทย ควบคู่กับการแสดงเงินตราประเภทต่าง ๆ

ที่เคยใช้ในดินแดนภาคใต้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

พิพิธนารักษ์สงขลา F1.jpg

การจัดแสดงนิทรรศการถาวร

LINE_ALBUM_สงขลา_๒๒๐๑๒๗_2
LINE_ALBUM_Songkhla_๒๒๐๑๒๗_9

เงินตราในอดีต

              จัดแสดงเงินตราในอดีตสมัยต่าง ๆ ได้แก่ เงินทวารวดี เงินดอกจัน เงินนโม พดด้วงสุโขทัย เงินคุบสุโขทัย พดด้วงอยุธยา และเงินคุบอยุธยา โดยมีเงินดอกจันและเงินนโม เป็นเอกลักษณ์แห่งเงินตราภาคใต้
              บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทยเป็นจุดแบ่งของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก จึงมีความสำคัญทางการค้า ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมากว่า 2,000 ปี เป็นจุดเชื่อมโยงยุโรป ตะวันออกกลาง อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน ปรากฏหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการค้าขายแลกเปลี่ยนกัน เช่น ลูกปัดเหรียญอาหรับ เหรียญจีน และภาชนะเครื่องเคลือบของจีน ดินแดนคาบสมุทรนี้เจริญเติบโตปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน เงินตราภาคใต้ จึงเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความมั่งคั่งทางการค้า สะท้อนให้เห็นภาพสังคมและเศรษฐกิจในทุกยุคทุกสมัย

Sign me up!
LINE_ALBUM_สงขลา_๒๒๐๑๒๗_4_0
LINE_ALBUM_สงขลา_๒๒๐๑๒๗_3_0
LINE_ALBUM_สงขลา_๒๒๐๑๒๗_1_0
LINE_ALBUM_Songkhla_๒๒๐๑๒๗_5
LINE_ALBUM_Songkhla_๒๒๐๑๒๗_8

เงินดอกจัน เงินนโม เอกลักษณ์เงินตราภาคใต้

             การค้าขายทางทะเลทำให้เกิดเมืองท่าขึ้น ชื่อว่า เมืองศรีวิชัย ซึ่งควบคุมเส้นทางการค้าและน่านน้ำทางตอนใต้ของ ประเทศไทยจนถึงเกาะชวาและเกาะสุมาตราของอินโดนีเซียในปัจจุบัน ทำให้อาณาจักรแห่งนี้มีความมั่งคั่ง โดยได้ผลิต “เงินดอกจัน” ขึ้นเพื่อใช้เป็นเงินตราแลกเปลี่ยน มีลักษณะกลม ด้านหน้าประทับตรารูปดอกไม้ 4 กลีบ หรือตราประจำยามอีกด้านหนึ่งมีอักษรสันสกฤต  คำว่า “วร” แปลว่า ประเสริฐ
           ในกลางพุทธศตวรรษที่ 18 เกิดอาณาจักรตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญสำหรับขนส่งสินค้าระหว่างมหาสสมุทรอินเดียตะวันตกและอ่าวไทยตะวันออก มีเรือสินค้าเข้าค้าขายบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทย มีเรือสินค้าจากชาติต่าง ๆ เข้ามาค้าขาย เช่น จีนและอินเดีย จึงได้มีการผลิตเงินตราเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียกว่า “เงินนโม” ด้านหนึ่งมีอักษรสันสกฤตโบราณคล้ายอักษร “น” อีกด้านหนึ่ง ตรงกลางมีรอยบากเป็นร่อง เชื่อว่าเงินนโมสามารถป้องกันโรคอหิวาตกโรคได้ เงินนโมที่เป็นเงินตรา แบ่งได้เป็น 3 ชนิด ตามสัณฐานของเงิน ได้แก่ เงินนโมเมล็ดข้าวสาร เงินนโมขี้หนู และเงินนโมตาไก่ เมืองท่าที่มีความสำคัญของภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ปัตตานี สงขลา และ ตรัง เป็นต้น และได้มีความเจริญรุ่งเรืองมาถึงสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์

LINE_ALBUM_สงขลา_๒๒๐๑๒๗_3_1
LINE_ALBUM_สงขลา_๒๒๐๑๒๗_11

เหรียญอีแปะ เหรียญกงสี

              เหรียญอีแปะ เป็นเหรียญกลม มีรูตรงกลาง ด้านหนึ่งมีอักษรจีนระบุปีที่ผลิตหรือระบุราชวงศ์ ชื่อจักรพรรดิจีน หัวเมืองทางภาคใต้มีการติดต่อค้าขายกับจีนมากขึ้นในสมัยอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ และในสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวจีนซึ่งทำเหมืองแร่ทางภาคใต้ได้ผลิตเหรียญอีแปะแบบจีน  เรียกว่า  เหรียญกงสี เพื่อใช้เป็นเงินตราแลกเปลี่ยนในเท้องถิ่นหรือในหมืองแร่ และได้มีการยกเลิกใช้เหรียญกงสีในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระบบเงินตราเข้าสู่ระบบสากล และสามารถผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนได้เพียงพอต่อความต้องการ

              จัดแสดงเงินตรานานาชาติบนแผ่นดินคาบสมุทรภาคใต้ ได้แก่ เหรียญเม็กซิกันเหรียญสเปน เหรียญเนเธอแลนด์ เหรียญการค้าในเมืองอาณานิคมอังกฤษ เหรียญเปรู เหรียญอินโดจีนฝรั่งเศส เหรียญบอร์เนียว เหรียญซาราวัก เหรียญมาลายู เหรียญฮ่องกง  และเหรียญญี่ปุ่น
                ดินแดนทางภาคใต้ของไทยเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญ มีพ่อค้าจากนานาชาติเดินทางเข้ามาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า จึงมีการใช้เหรียญเงินนานาชาติบน
ดินแดนภาคใต้ เช่น เหรียญอาหรับ เหรียญเปอร์เซีย เหรียญอินเดีย และเหรียญเม็กซิกัน เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการใช้ เงินตราต่างประเทศได้แก่ เงินเม็กซีกัน
และเงินรูเปีย ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนเงินตราแตกต่างกันไปตามความบริสุทธิ์และน้ำหนักของเนื้อเงิน

LINE_ALBUM_สงขลา_๒๒๐๑๒๗_5

เงินตรานานาชาติ

LINE_ALBUM_สงขลา_๒๒๐๑๒๗_7
LINE_ALBUM_สงขลา_๒๒๐๑๒๗_6
LINE_ALBUM_สงขลา_๒๒๐๑๒๗_8

เงินตราสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น - ปัจจุบัน

เงินพดด้วยพดด้วงสมัยรัชกาลที่ 1 - รัชการที่ 3

           จัดแสดงเงินพดด้วงในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 - รัชการที่ 3
โดยบนเงินพดด้วงจะมีรอยบากลึกทั้งสองขา และมีตราประทับ 2 ตราขึ้นไป คือ ประทับตราสัญลักษณ์ของอาณาจักร (ตราพระแสงจักร)

และสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ผลิต

รัชการที่ 1  เงินพดด้วงประทับตราพระแสงจักร – ตราบัวอุณาโลม

รัชการที่ 2  เงินพดด้วงประทับตราพระแสงจักร – ตราครุฑ

รัชการที่ 3  เงินพดด้วงประทับตราพระแสงจักร – ตราปราสาท

LINE_ALBUM_สงขลา_๒๒๐๑๒๗_5

              ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นการเปิดเสรีทางการค้ากับนานาชาติ มีการซื้อขายสินค้าเพิ่มมากขึ้น เงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตราหลักผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เหรียญเงินต่างประเทศได้เช่นเดียวกับเงินบาทไทย โดยสั่งเครื่องจักรเพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์แบบกลมแบนขึ้นใช้แทนเงินพดด้วง เงินตราของไทยจึงเริ่มเข้าสู่ระบบสากล

                ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ยกเลิกเงินตราในระบบเก่าทั้งหมด ทั้งการใช้เงินพดด้วงและหน่วยเงินตรา และเปลี่ยนสู่ระบบสากลใน พ.ศ. 2445 มีการตราพระราชบัญญัติเงินตรา กำหนดการทำและการใช้เงินตราในบ้านเมืองเพื่อเตรียมเข้าสู่การตั้งมาตราทองคำ ในปี พ.ศ. 2451 ตราพระราชบัญญัติมาตราทองคำ ทำให้ไทยเข้าสู่ระบบการใช้ทองคำ เป็นทุนสำรอง และกำหนดอัตราเงินบาทเทียบเท่าทองคำในอดีตจนถึงปัจจุบัน เหรียญกษาปณ์มีการพัฒนาการทั้งด้านโลหะที่ใช้ชนิดราคา ภาพที่ปรากฏบนหน้าเหรียญ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ อีกด้านหนี่งเป็นวัดที่สำคัญ หรือตราสัญลักษณ์ประจำรัชกาล นอกจากนั้น เหรียญกษาปณ์ยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละยุคสมัยอีกด้วย

เหรียญกษาปณ์สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงปัจจุบัน

เวลาทำการ

วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. 

(ปิดให้บริการวันวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

ช่องทางการติดต่อ

หมายเลขโทรศัพท์ : 0 7430 7071
เว็บไซต์ e-museume : http://trdmuseumsongkhla.treasury.go.th/
      พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดสงขลา
      museumsongkhla
      museumsongkhla

  • Instagram
  • Facebook
  • Twitter

เข้าชมฟรี !

พูดคุยกับเรา

ขอบคุณสำหรับข้อมูล!

bottom of page