top of page

พิพิธบางลำพู

BANGLAMPHU MUSEUM

พิพิธบางลำพู1111.jpg

พิพิธบางลำพู 

พิพิธบางลำพู ตั้งอยู่ที่ถนนพระสุเมรุ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ภายใต้การกำกับดูของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์ เป็นศูนย์การเรียนรู้กรมธนารักษ์และห้องสมุดชุมชน จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับภารกิจหลัก 4 ด้านของกรมธนารักษ์ ได้แก่ ด้านการผลิตและบริหารเหรียญกษาปณ์ ด้านการดูแลรักษาและจัดแสดงทรัพย์สินมีค่าของรัฐ ด้านการประเมินราคาทรัพย์สินด้านการบริหารที่ราชพัสดุ และนิทรรศการเสน่ห์บางลำพู ที่บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนบางลำพู โดยเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารพิพิธบางลำพู เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2558

Contact

I'm always looking for new and exciting opportunities. Let's connect.

123-456-7890 

พิพิธบาวลำภู (34).JPG

        1. นิทรรศการหมุนเวียน

จัดแสดงเผยแพร่พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระเกียรติคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง      ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

DSC_7125.jpg

          2. นิทรรศการถาวร

ประกอบด้วยนิทรรศการต่างๆดังนี้

  1.นิทรรศการป้อมเขตขัณฑ์รัตนโกสินทร์

  2.นิทรรศการสืบสานคุณค่าธนารักษ์

          จัดแสดงบทบาทหน้าที่ของกรมธนารักษ์ที่รับผิดชอบงานทั้ง 4 ด้าน คือ

               2.1 ด้านการผลิตและบริหารเหรียญกษาปณ์

               2.2 ด้านการดูแลรักษาและจัดแสดงทรัพย์สินมีค่าของรัฐ

               2.3 ด้านการประเมินราคาทรัพย์สิน

               2.4 ด้านการบริหารที่ราชพัสดุ

        3.นิทรรศการเสน่ห์บางลำพู

               3.1 ประณีตศิลป์เครื่องถมไทย

               3.2 ช่างทองแห่งชุมชนมัสยิดจักรพงษ์

               3.3 ศิลปะแทงหยวกกล้วย สละสลวยงานช่างสิบหมู่

               3.4 เบื้องหลังผืนผ้าวิจิตร

               3.5 สีทองสุกปลั่งดั่งสีทองคำเปลว

               3.6 วรรังสี ถิ่นนี้มีธงโบกไสว

               3.7 ดุริยประณีต บรรเลงสังคีตศิลป์ไทย

               3.8 เบื้องหลังผืนผ้าวิจิตร

        4.พระพุทธบางลำพู-ประชานาถ

Learn More

นิทรรศการสืบสานคุณค่าธนารักษ์

จัดแสดงบทบาทหน้าที่ของกรมธนารักษ์ที่รับผิดชอบงานทั้ง 4 ด้าน คือ

ด้านการผลิตและบริหารเหรียญกษาปณ์

จัดแสดงข้อมูลเชิงสถิติการใช้เหรียญ และติดตั้งเครื่องใช้หยอดเหรียญแบบต่าง ๆ รวมถึงแสดงขั้นตอนการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนโดยมาคอต

พนักงานโรงกษาปณ์

พิพิธบาวลำภู (230)
พิพิธบาวลำภู (224)
พิพิธบาวลำภู (222)
พิพิธบาวลำภู (220)
พิพิธบาวลำภู (219)

ด้านการดูแลรักษา
และจัดแสดงทรัพย์สินมีค่าของรัฐ

    จัดแสดงขั้นตอนวิธีการอนุรักษ์ทรัพย์สินมีค่าและเงินตราไทยโบราณตามหลักวิชาการอนุรักษ์  ที่ต้องใช้ความรู้เชิงช่างศิลปกรรมโบราณผสมผสานกับวิทยาการสมัยใหม่ ก่อนนำเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้ภาคภูมิใจและตระหนักในคุณค่า

พิพิธบาวลำภู (272)_edited
พิพิธบาวลำภู (269)_edited
พิพิธบาวลำภู (255)
พิพิธบาวลำภู (256)
พิพิธบาวลำภู (259)
พิพิธบาวลำภู (260)

ด้านการประเมินราคาทรัพย์สิน

จัดแสดงแบบจำลองพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานครที่มีราคาประเมินสูง และบอกเล่าขั้นตอนการประเมินราคาทรัพย์สินผ่านวีดีทัศน์

พิพิธบาวลำภู (264)
พิพิธบาวลำภู (276)
พิพิธบาวลำภู (262)

ด้านการบริหารที่ราชพัสดุ

จัดแสดงเครื่องมือในการทำงานด้านบริหารงานที่ราชพัสดุ เช่น กล้องระดับ และอุปกรณ์วัดพื้นที่ และยกตัวอย่างพื้นที่เขตอโศกและเขตคลองเตย ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศมาจัดแสดงเป็นโมเดลเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจการบริหารงานด้านที่ราชพัสดุได้โดยง่าย

นิทรรศการเสน่ห์บางลำพู

พิพิธบาวลำภู (589)
พิพิธบาวลำภู (588)

ประณีตศิลป์เครื่องถมไทย

ชุมชนบางลำพูในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีช่างฝีมืออยู่ 2 สาขา คือ ช่างทำเครื่องเงินและช่างทำเครื่องถม และได้รวมกลุ่มกันเกิดเป็นชุมชนบ้านพานถม ซึ่งการทำเครื่องถมนั้นจะต้องอาศัยฝีมือขั้นสูงประกอบกับความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลวดลายที่วิจิตรอ่อนช้อย ทำให้เครื่องถมเป็นที่นิยมของชนชั้นสูงในสมัยก่อน ปัจจุบันอาชีพนี้ค่อยๆ เลือนหายไป หลงเหลือเพียง “ร้านเครื่องถมไทยนคร” ที่ยังคงสืบสานเครื่องถมไทยให้เป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบัน

พิพิธบาวลำภู (617)
พิพิธบาวลำภู (616)
พิพิธบาวลำภู (619)
พิพิธบาวลำภู (615)

ช่างทองแห่งชุมชนมัสยิดจักรพงษ์

แหล่งกำเนิดช่างทองผู้สร้างสรรค์เครื่องถนิมพิมพาภรณ์ ด้วยฝีมือที่ประณีตวิจิตร ศิลปะ
การทำทองได้ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น แต่ด้วยการเข้ามาของวิทยาการสมัยใหม่ทำให้อาชีพช่างทองลดลงเหลือไว้เพียงตำนาน และชื่อเสียงของช่างทองคนสุดท้ายแห่งตรอกสุเหร่า “เล็ก ลอประยูร”

พิพิธบาวลำภู (586)
พิพิธบาวลำภู (628)
_MG_1301 (Large)

ศิลปะแทงหยวกกล้วย สละสลวยงานช่างสิบหมู่

ศิลปะการแทงหยวกกล้วย หนึ่งในงานช่างสิบหมู่ประเภทเครื่องสด มีต้นกำเนิดมาจากชาวมอญเมื่อหลายร้อยปีก่อน ลวดลายต่างๆ ที่แกะสลักมาจากมุมมอง  ของช่างโดยที่ไม่มีการวาดลายลงไปก่อน ปัจจุบันศิลปะแทงหยวกกล้วยแทบจะเลือนหายไปจากสังคมไทยแต่ชุมชนวัดใหม่อมตรสยังมีทายาทรุ่นเยาว์ของศิลปินผู้ล่วงลับ “ชูชาติ แดงแนวโต” เป็นผู้สืบทอดและรักษางานศิลปะแขนงนี้ไว้

พิพิธบาวลำภู (582)
พิพิธบาวลำภู (583)
พิพิธบาวลำภู (584)

เบื้องหลังผืนผ้าวิจิตร

“เบื้องหน้าอันวิจิตรงดงามบนคนโขน เบื้องหลังร้อยโยงเชือกด้ายปักลงผ้า” ด้วยความรู้
ที่ร่ำเรียนจากวังหลวงของ “นางสมคิด หลาวทอง” อดีตข้าราชการกรมศิลปากร ฝ่ายงานเครื่องอาภรณ์
ชาวชุมชนตรอกเขียนนิวาสน์-ตรอกไก่แจ้ ทำให้เกิดเป็นชุดโขนอันงดงามวิจิตร เพราะการปักผ้ามิใช่เป็นเพียงแต่อาชีพเท่านั้น หากยังเป็นศิลปะที่ศิลปินบรรจงสร้างสรรค์ด้วยความตั้งใจ

DSC_7104_edited_edited
พิพิธบาวลำภู (634)

ดุริยประณีต บรรเลงสังคีตศิลป์ไทย

บ้านดนตรีไทยดุริยประณีตแห่งชุมชนวัดสังเวชวิศยารามที่ยังคงสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมด้านดนตรีไทยมาตลอดระยะเวลายาวนานตั้งแต่ต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และยังคงเดินหน้าสานต่อปณิธาน
ที่จะสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ๆ ให้กับวงการดนตรีไทยตามยุคสมัยเรื่อยไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

วรรังสี ถิ่นนี้มีธงโบกไสว

ย่านบางลำพู บริเวณถนนตะนาวจะมีการประดับธง ทั้งธงชาติและธงสัญลักษณ์  ผลัดเปลี่ยนตามเทศกาลพาดผ่านเป็นเส้นสายตลอดแนวถนน ทั้งนี้ เพราะชาวชุมชนต้องการจะรักษาความสงบอย่างกรุงเก่าเอาไว้เพื่อให้พระสงฆ์ได้มีถนนสักเส้นหนึ่งสำหรับบิณฑบาต จึงเป็นที่มาของอาชีพช่างทำธง ปัจจุบันไม่ได้มีการทำธงเหมือนแต่ก่อน แต่ยังคงเป็นแหล่งค้าขายธงขนาดใหญ่ตลอดถนนบวรนิเวศ

_MG_1314 (Large)
DSC_7100
DSC_7109
พิพิธบาวลำภู (630)

สีทองสุกปลั่งดั่งสีทองคำเปลว

ชุมชนช่างทองวัดบวรรังสี ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากช่างฝีมือในวัง การตีทองคำเปลวต้องใช้ทั้งพลัง สมาธิ และความชำนาญขั้นสูง ปัจจุบันมรดกทางภูมิปัญญานี้ยังไม่สูญหาย ไปจากชุมชน เพราะลูกหลานบ้านช่างทองยังคงรักษาอาชีพดั้งเดิมนี้ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม

พระพุทธบางลำพู-ประชานาถ

พิพิธบางลำพูประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งชาวชุมชนบางลำพูได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (พระองค์ที่ 19) ที่ทรงประทานพระพุทธรูปคันธารราษฎร์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุภายในองค์พระตรงพระอุระเบื้องซ้าย และประทานนามให้ว่า "พระพุทธบางลำพู-ประชานาถ"
มีความหมายว่าที่พึ่งของชาวบางลำพู เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ชาวชุมชนบางลำพูสืบไป

C0393.MP4.07_48_07_55_edited
C0391.MP4.07_40_59_58_edited
C0394.MP4.07_48_14_23_edited
C0394.MP4.07_48_20_20_edited
พิพิธบาวลำภู (645)

ผู้เข้าชมจะพบกับนิทรรศการ “เสน่ห์บางลำพู” ร่วมเรียนรู้วัฒนธรรมดั้งเดิมอันควรค่าแก่การรักษาไว้ของชุมชนทั้ง 7 แห่ง ทั้งนี้ชาวชุมชนบางลำพูได้มอบสิ่งของต่าง ๆ อันเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ รวมทั้งของสะสมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนมาร่วมจัดแสดงและมอบชิ้นส่วนจริงของต้นลำพูต้นสุดท้ายที่ยืนต้นตายเมื่อครั้งเกิดมหาอุทกภัย พ.ศ. 2554 มาประกอบการจัดแสดงด้วย โดยเนื้อหานิทรรศการแบ่งเป็นดังนี้

เวลาทำการ

         วันอังคาร-วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. 

         วันเสาร์ - วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 - 18.00 น.

         *ปิดให้บริการทุกวันจันทร์ เทศกาลปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์*

 

ช่องทางการติดต่อ

             หมายเลขโทรศัพท์ : 0 2281 9828

             ผ่านเว็บไซต์ e-museume : http://banglamphumuseum.treasury.go.th/

             Facebook Page : Pipitbanglamphu

             Instagram : Pipit_banglamphu

             Twitter : Pipitbanglamphu

อัตราค่าเข้าชม
            ผู้ใหญ่ชาวไทยและชาวต่างชาติ         30 บาท

             เด็ก อายุ 10 -18 ปี                     10 บาท

             เข้าชมฟรีสำหรับ                        

- เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี                                                      

- ผู้สูงอายุชาวไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป                                                       

- ผู้พิการ                                     

- พระสงฆ์ ภิกษุณี และนักบวชทุกศาสนา

ติดต่อเรา

ขอบคุณสำหรับข้อมูล!