Acerca de
พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดเชียงใหม่
The Treasury Museum, Chaing Mai
พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนิน ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การกำกับดูของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์ เป็นพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเงินตราที่ทันสมัยได้มาตรฐานในภาคเหนือภายในจัดแสดงนิทรรศการวิวัฒนาการเงินตราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเงินตราท้องถิ่น
ทางภาคเหนือ รวมทั้งประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ และการค้าของอาณาจักรล้านนาในอดีต

การจัดแสดงนิทรรศการถาวร
![]() | ![]() |
---|---|
![]() |
ประวัติความเป็นมา
พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอาคารราชพัสดุ ซึ่งเดิมเคยเป็นบ้านของเจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2494 ด้วยลักษณะอาคารสมัยใหม่ (Modern Architecture) ซึ่งเป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่นิยมสร้างในกรุงเทพฯ ช่วง พ.ศ. 2475 - 2490 เปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการในชื่อ “ศาลาธนารักษ์ 1 จังหวัดเชียงใหม่” เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2538 โดยจัดแสดงนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเงินตราไทย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 - 2562 ได้ปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการภายใน สิ่งอำนวยความสะดวก พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ ห้องสมุด และพื้นที่จัดกิจกรรม รวมถึงมีการปรับภูมิทัศน์โดยรอบ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเงินตราที่ทันสมัย ภายใต้ชื่อ “พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดเชียงใหม่”
![]() | ![]() |
---|
ล้านนาในความทรงจำ
ภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ
อาณาจักรล้านนา ตั้งแต่การก่อร่างสร้างเมือง พัฒนาการความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักร
และเมืองเชียงใหม่ในฐานะศูนย์กลางของอาณาจักร
![]() | ![]() |
---|
![]() | ![]() |
---|
เปิดมุมเมือง
เรื่องราวการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ
ในดินแดนภาคเหนือตอนบน
รุ่งเรืองล้านนา
นิทรรศการวิวัฒนาการเงินตราไทย
ตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนัน - ทวารวดี
เงินตราสมัยล้านนา สุโขทัย อยุธยา จนถึง
สมัยรัตนโกสินทร์ และเศรษฐกิจการค้าในล้านนา
วัฒนาบ้านเมือง
เรื่องราวการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ
ในดินแดนภาคเหนือตอนบน
![]() | ![]() |
---|
![]() | ![]() |
---|
ปัจจุบันล้านนา
นิทรรศการนำเสนอภาพเมืองเชียงใหม่
ในฐานะเมืองท่องเที่ยวสำคัญของภาคเหนือ
ที่ยังคงรักษาและสืบทอดอัตลักษณ์ท้องถิ่น
อันเป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเยือน
เหรียญนั้นสำคัญไฉน
เรียนรู้ความสำคัญของเหรียญกับชีวิตประจำวัน
ผ่านมินิเกมจำลองสถานการณ์
![]() | ![]() |
---|
![]() | ![]() |
---|
รอบรู้เรื่องเหรียญ
นิทรรศการพัฒนาการเหรียญกษาปณ์ไทย
และขั้นตอนการผลิตเหรียญ นำเสนอด้วยสื่อมัลติมีเดียทันสมัยหลากหลายรูปแบบ อาทิ
เกมขั้นตอนการผลิตเหรียญผ่านจอระบบสัมผัส (Touch Screen) และชมเหรียญประเภทต่าง ๆ
ผ่านเทคโนโลยี AR-Code (Augmented Reality)
การจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน
![]() | ![]() |
---|---|
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
![]() |
"ตุงไชยมงคล : ตอกบุญ ดุนลาย สื่อความหมายวัฒนธรรม"
พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) สำนักงานภาคเหนือ และเครือข่าย
วิถีราชดำเนินโดยเทศบาลนครเชียงใหม่ จัดกิจกรรมวิถีราชดำเนิน (Radchadamnoen Model) ซึ่งเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในงานเชียงใหม่บลูมส์ 2021 (Chiang Mai Blooms 2021) ภายใต้แนวคิด “เชียงใหม่เมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์แห่งองค์การยูเนสโก”
โดยพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเกียรติจาก พ่อครูดิเรก สิทธิการ ครูศิลปะของแผ่นดิน ปี พ.ศ. 2554 ผู้เชี่ยวชาญด้านการดุนโลหะและทำเครื่องเงินชุมชนบ้านวัวลายเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานหัตถศิลปะชิ้นพิเศษ “ตุงไชยมงคล” ที่สะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรมของงานดุนโลหะ และคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเงินตราโบราณได้อย่างงดงาม